สำหรับภาพยนตร์เรื่อง มหาลัยเที่ยงคืน ที่กำลังจะเข้าฉายในวันที่ 28 กรกฏาคม 2559 ซึ่งหลายๆ คนอาจจะได้รู้จักผู้กำกับและนักแสดง แต่ในภาพยนตร์หนึ่งเรื่องยังมีทีมงานอีกหลายหน้าที่ที่สำคัญ วันนี้หนังดีเรามีอีก 1 หน้าที่ที่สำคัญไปไม่น้อยหว่าหน้าที่อื่นก็คือ ผู้กำกับภาพ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ผู้กำกับภาพ ระดับคุณภาพของวงการภาพยนตร์ อย่าง "พี่เต้อ-คมสัน ศรีสวัสดิ์" มารับหน้าที่นี้ ซึ่งพี่เต้อ ได้กล่าวถึงเรื่องราวน่ารู้จากการกำกับภาพของภาพยนตร์เรื่อง "มหาลัยเที่ยงคืน" มาให้แฟนหนังได้ทราบกัน
"ผมดูหนังไทยหลายเรื่องพอถึงฉากที่มีสภาพแสงเป็น Low Key (ฉากที่ตัวละครอยู่ในที่มืดๆ สภาพแสงน้อยๆ) ผมก็ตกใจว่า เฮ้ย! ไมฉากที่มืดมันจะมี Noise หรือสัญญาณรบกวนเยอะมากกกกก
ในการถ่ายหนังเรื่องนี้ เนื่องจากตัวหนังจะมีฉากกลางคืน ในที่มืดๆ เป็นส่วนใหญ่ ผมจึงมีโจทย์ทาง Technical ส่วนตัวในใจว่า ต้องควบคุมให้บริเวณที่มืดในภาพมีสัญญาณรบกวนหรือ Noise ต่ำสุด
สมัยก่อนเราถ่ายหนังด้วยฟิล์ม กว่าเราจะรู้ว่าหนังออกมาเป็นอย่างไรก็ต่อเมื่อล้างฟิล์มนั้นออกมาดู สร้างความทรมานใจให้กับผู้กำกับ (Director) เป็นยิ่งนัก กว่าจะรู้ว่าหนังออกมามืดสว่างสวยงามอย่างที่คิดก็ต้องรอไปอีกหลายขั้นตอน ออกมาดีก็ดีใจ...ออกมาไม่ดีก็...
พอเข้าสู่ยุคต้นของDigital Video เราก็ดีใจว่า "What you see is what you get" คือระหว่างถ่ายเป็นยังไง เห็นยังไง ก็เป็นอย่างนั้นน่ะแหละ แต่ในความจริงแล้วเทคโนโลยี่ของVideoซึ่งเป็นDigital ก็ยังไม่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้เท่ากับที่ฟิล์ม (Analog) เคยทำได้
ปัจจุบัน การถ่ายหนังด้วยกล้อง Digital Video กลับย้อนรอยไปใช้วิธีคิดทางTechnicalแบบฟิล์มเพื่อแก้ข้อจำกัดของเทคโนโลยี Video ผู้กำกับภาพ (DP) จะต้องถ่ายให้ได้ Digital Negative ที่ดีพอสำหรับกระบวนการ Post Production
Digital Negative ที่ถูกบันทึกในกล้อง (RAW File หรือ Log File) จะไม่สวยงามตามท้องเรื่อง แต่จะมีสีสันซีดเซียว บางทีก็สว่างกว่าจริงหรือมืดกว่าจริงเพื่อเก็บ Dynamic Range ที่ดีที่สุดของ Scene นั้นๆให้มีความเหมาะสมกับกระบวนการปรับแต่งสี (Grading) ในขั้นตอน Post Production"
ที่มา Google Plus Khomson Srisawasdi