พบกับเรื่องราวของเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นที่เหมืองเมืองซานโฮเซ่ เมื่อเหมืองทองคำและทองแดงอายุกว่า 100 ปีถล่ม ทำให้คนงานจำนวน 33 คนติดอยู่ใต้ดินนานถึง 69 วัน ทีมช่วยเหลือนานาชาติต้องทำงานทั้งวันทั้งคืนเพื่อช่วยเหลือคนงานที่ถูกฝังอยู่ให้กลับมาพบครอบครัวและเพื่อนๆของพวกเขาอีกครั้ง เช่นเดียวกับผู้คนทั่วโลกอีกหลายล้านคนที่ต่างเฝ้ารอและจับตามองอย่างร้อนใจเพื่อภาวนาให้พวกเขาปลอดภัย กว่า 200 เรื่องราวทั้งการใช้ชีวิตอยู่ใต้ดิน ภายใต้บรรยากาศที่ร้อนระอุจนยากจะหายใจ ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับเสบียงอาหาร และเวลาที่หมดไปอย่างรวดเร็ว
ภาพยนตร์เรื่อง The 33 - 33 ใต้นรก 200 ชั้น จะพาผู้ชมดำดิ่งลงไปสู่ความมืดมิดที่อยู่ส่วนลึกที่สุดของโลกใบนี้ เผยให้เห็นถึงจิตวิญญาณของคนงานที่ติดอยู่ใต้เหมือง และยังแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญของคนงานเหล่านั้นรวมถึงครอบครัวของพวกเขาที่เข้มแข็งและเชื่อเสมอว่าพวกเขาต้องรอด จากเรื่องจริงสู่จอภาพยนตร์พวกคุณจะได้เห็นการร่วมมือกันทั้งคนงานเหมือง ครอบครัวของพวกเขาและทีมช่วยเหลือที่พาพวกเขากลับขึ้นมาอย่างปลอดภัย The 33 จะเปิดเผยเหตุการณ์ที่คุณยังไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งเบื้องลึกเบื้องหลังที่สร้างปรากฏการณ์ความประทับใจและปาฎิหาริย์ให้กับคนทั่วโลก
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
5 สิงหาคม 2553
เหตุการณ์เส้นทางหลักของเหมืองที่เมืองซานโฮเซ่ ถล่ม ทำให้คนงาน 33 คนติดอยุ่ในเหมืองลึกลงไปใต้ดินถึง 2,300 ฟุต เจ้าหน้าที่กู้ภัยฉุกเฉินไม่สามารถติดต่อกับคนงานที่ติดอยู่ได้
6 สิงหาคม 2553
สำนักงานบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติของชิลีแถลงว่า ผู้คนจำนวน 130 คน กำลังหาทางช่วยเหลือคนงานเหมืองอยู่
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
7 สิงหาคม 2553
การช่วยเหลือต้องล่าช้าออกไปเมื่อทีมกู้ภัยพบว่า เส้นทางภายในเหมืองที่จะนำไปสู่คนงานถูกหินถล่มกีดขวางอยู่ เซบาสเตียน ปิเนร่า ประธานาธิบดีชิลีเดินทางถึงเมืองโคเปียโปซึ่งเป็นที่ตั้งเหมืองเพื่อพบกับบรรดาเจ้าหน้าที่
22 สิงหาคม 2553
คนงานเหมืองเขียนข้อความบนเศษกระดาษด้วยหมึกสีแดงว่า "พวกเราทั้ง 33 คน ยังปลอดภัยดีในที่พักหลบภัย" แล้วผูกติดกับหัวเครื่องขุดเจาะที่เจ้าหน้าที่หย่อนลงไปก่อนหน้านี้
23 สิงหาคม 2553
หัวตรวจที่สองพบตำแหน่งคนงานเหมือง ทีมกู้ภัยสามารถส่งและติดตั้งอุปกรณ์การสื่อสาร ตลอดจนอาหารและน้ำให้กับคนงานเหมือง ก่อนหน้านี้พวกคนงานต้องยังชีพโดยแบ่งกันรับประทานปลากระป๋องและน้ำที่มีอยู่ในที่พักหลบภัย
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
24 สิงหาคม 2553
ผู้เชี่ยวชาญจากนาซ่าและหน่วยเรือดำน้ำของกองทัพเรือชิลีถูกเรียกตัวมาเพื่อช่วยจัดการปัญหาผลกระทบทางด้านจิตใจของคนงานเหมืองที่ต้องตกอยู่ในสภาพโดดเดี่ยวในที่จำกัด
26 สิงหาคม 2553
คนงานเหมืองส่งสารผ่านวีดีโอให้ครอบครัวและขอบคุณในความพยายามหาทางช่วยเหลือพวกเขา
27 สิงหาคม 2553
คนงานเหมืองได้รับแจ้งเป็นครั้งแรกถึงระยะเวลาปฏิบัติการที่จะช่วยเหลือพวกเขาขึ้นมา เจ้าหน้าที่กล่าวว่า พวกเขากำลังปฏิบัติการตาม "แผน B" ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการช่วยเหลือให้เร็วยิ่งขึ้น
29 สิงหาคม 2553
คนงานเหมืองมีโอกาสพูดคุยกับครอบครัวของตนเองเป็นเวลา 20 วินาที เป็นครั้งแรกหลังจากเหตุเหมืองถล่ม
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
31 สิงหาคม 2553
การขุดเจาะ แผน A เริ่มขึ้น
3 กันยายน 2553
เครื่องเจาะ Schramm T- 130 หรือที่เรียกกันว่าแผน B มาถึงที่เกิดเหตุ เครื่องเจาะนี้มักใช้ในการเจาะบ่อน้ำ
6 กันยายน 2553
เจ้าหน้าที่ทีมกู้ภัยหยุดการขุดเจาะ แผน B ชั่วคราว เนื่องจากเครื่องมือชำรุด
9 กันยายน 2553
คนงานเหมืองถ่ายวีดีโอเพื่อให้ครอบครัวเห็นการดำเนินชีวิตประจำวันของพวกเขา คลิปที่ยาว 3 นาทีนั้นแสดงให้เห็นว่าทุกคนยังมีกำลังใจดีอยู่
14 กันยายน 2553
เอลิซาเบธ ซาโกเวีย ภรรยาของอาเรียล ติโกนาผู้ติดอยู่ในเหมืองให้กำเนิดลูกสาวซึ่งเธอตั้งชื่อว่า Esperanza ซึ่งแปลว่าความหวัง
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
17 กันยายน 2553
หลุมเจาะ แผน B พบตำแหน่งของคนงานเหมืองทั้ง 33 คน แต่หลุมกว้างเพียง 12 นิ้ว จึงต้องขยายขนาดเพิ่มขึ้น
22 กันยายน 2553
เครื่องขุดเจาะ แผน C เริ่มการขุดเจาะ
25 กันยายน 2553
แคปซูลช่วยชีวิตที่จะลำเลียงคนงานเหมืองกลับขึ้นมา ไดัมาถึงเหมืองแล้ว แคปซูลชื่อ ฟินิกซ์ มีสีแดง ขาว และ น้ำเงิน ซึ่งเป็นสีธงชาติของชิลี
28 กันยายน 2553
เครื่องขุดเจาะ แผน B ขุดเจาะไปได้ครึ่งทางจากจุดที่คนงานเหมืองติดอยู่
30 กันยายน 2553
ทีมกู้ภัยประสบความสำเร็จในการทดสอบแคปซูล ผู้ที่เข้าไปทดสอบกล่าวว่าแคปซูลนั้นช่าง "สบายจริงๆ"
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
1 ตุลาคม 2553
ลอเรนซ์ โกลบอร์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือคนงานเหมืองอย่างเร็วที่สุด ประมาณกลางเดือนตุลาคม ระหว่างวันที่ 15 และ 30 ตุลาคม ซึ่งเร็วกว่าที่กำหนดการเดิม เจ้าหน้าที่ดังกล่าวยังคาดว่าการช่วยเหลืออาจเลื่อนไปถึงเดือนพฤศจิกายนหรือคริสต์มาส
5 ตุลาคม 2553
ทีมกู้ภัยกล่าวว่าเหลืออีกเพียง 160 เมตรก็จะถึงจุดที่คนงานเหมืองติดอยู่
6 ตุลาคม 2553
แคปซูลอีกสองตัวและรอกซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ม้วนและปรับความตึง มาถึงที่เกิดเหตุ
7 ตุลาคม 2553
แหล่งข่าวใกล้ชิดกับปฏิบัติการกู้ภัยครั้งนี้กล่าวว่า เครื่องเจาะแผน B เหลืออีกเพียงไม่ถึง 100 เมตรจะถึงเป้าหมาย
9 ตุลาคม 2553
เครื่องเจาะแผน B สามารถเจาะหลังคาของเหมืองได้
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
12 ตุลาคม 2553
ระหว่างการแถลงข่าว โกลบอร์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองกล่าวว่า การช่วยเหลือคาดว่าจะเริ่มขึ้่นในช่วง "ไตรมาสสุดท้าย" ของวัน
13 ตุลาคม 2553
ฟลอเรนซิโอ แอนโตนิโอ อาวาลอส ซิลวา วัย 31 ปี เป็นคนแรกที่ได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาเมื่อเวลาประมาณ 00:11 น. หลุยส์ อัลเบิร์ตโต อูร์ซัว ไอริบาร์เรน หัวหน้าคนงานวัย 54 ปี เป็นคนที่ 33 และคนสุดท้ายที่ได้รับการช่วยเหลือ ปฏิบัติการการช่วยเหลือครั้งนี้ใช้เวลาทั้งหมด 22 1/2 ชั่วโมง
25 กรกฎาคม 2554
ตัวแทนคนงานเหมืองแถลงว่าขายลิขสิทธิ์เรื่องราวของพวกเขาเพื่อมาทำเป็นภาพยนตร์ให้ ไมค์ เมดาวอย ผู้อำนวยการสร้าง
30 สิงหาคม 2554
คนงานเหมืองจำนวน 14 คนรับเงินบำนาญเดือนละ 250,000 เปโซชิลี (ประมาณ 540 เหรียญสหรัฐ) จากซีซิเลีย มอเรล สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งชิลี รัฐบาลชิลีคัดเลือกคนงานผู้ที่ได้รับเงินบำนาญดังกล่าวโดยตัดสินจากสุขภาพ อายุ และความคิดเห็นจากกลุ่มผู้รอดชีวิต
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
1 สิงหาคม 2556
อัยการชิลีแถลงปิดกรณีการสอบสวนเหมืองถล่ม โดยไม่มีการฟ้องร้องใดๆ ทั้งสิ้น
4 สิงหาคม 2556
บริษัทเหมืองแร่ซานเอสเตบันตกลงขายเหมืองซานโฮเซ่ซึ่งถูกปิดแล้ว เพื่อจ่ายเงินชดเชยให้กับคนงานเหมืองและคืนเงินค่าใช้จ่ายปฏิบัติการช่วยเหลือแก่รัฐบาล ตลอดจนหนี้สินอื่นๆ ของบริษัทอีกด้วย
พบกับเรื่องราวของคนงานทั้ง 33 คนจากเหตุการณ์เหมืองถล่มที่ทางตอนเหนือของชิลี
ใน Timeline 33 ใต้นรก 200 ชั้น http://timeline.the33movie.com/intl/th/
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
ภาพเหตุการณ์จริงจาก boston.com เมื่อปี 2010
ภาพจากหนัง The 33
ภาพจากหนัง The 33
ภาพจากหนัง The 33
ภาพจากหนัง The 33