จากของขวัญที่ซื้อมาเพื่อมอบให้กับภรรยา บันดาลใจให้ ไมเคิล บอนด์ สร้างเรื่องราวของเจ้าหมีแพดดิงตันผู้รักในแยมมาร์มาเลด สวมโค้ทดัฟเทล กับหมวกปีกกว้างบนหัว
บอนด์ได้เฝ้ามองผลงานสร้างสรรค์ ที่กลายเป็นเวทมนตร์ให้กับเหล่าเด็กน้อยมากมายมากว่าครึ่งศตวรรษ ก่อนที่เจ้าหมีแพดดิงตันจะขึ้นหิ้งเป็นตัวละครยอดนิยมตลอดกาล ปรากฏตัวแทบทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียน ของเล่นจำนวนนับไม่ถ้วน รวมถึงภาพยนตร์ ก่อนที่บอนด์จะเสียชีวิตลงในวัย 91 ปี
สำนักพิมพ์ผู้จัดจำหน่ายหนังสือของเขา ฮาร์เปอร์คอลลินส์ แถลงว่าบอนด์ถึงแก่กรรมลงเมื่อวันพุธที่บ้านของเขาเอง หลังจากที่เขาป่วยได้ไม่นาน แอน-แจนนีน เมอร์ทักห์ Executive Publisher ของสำนักพิมพ์ ฮาร์เปอร์คอลลินส์ สำหรับเด็ก กล่าวว่าบอนด์นั้น “จะถูกจดจำตลอดไป สำหรับผลงานการสรรค์สร้างอันเป็นสัญลักษณ์ แพดดิงตัน ด้วยโค้ทดัฟเทล, บูทเวลลิงตัน ที่ประทับอยู่ในจิตใจของดิฉัน เช่นเดียวกับเด็กๆ มากมาย และเจ้าหมีแพดดิงตันนี้จะยังคงอยู่ แม้ในจิตใจของเด็กรุ่นถัดไป”
การผจญภัยของเจ้าหมีขนปุยนั้นปรากฏขึ้นครั้งแรกในหนังสือ “A Bear Called Paddington” ในปี 1958 – มันเป็นเจ้าหมีที่มาจากในป่าลึกของเปรู มุ่งหน้าสู่ลอนดอนเพื่อเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ และได้รับการอุปการะจากครอบครัวชาวอังกฤษ ที่เรียกเจ้าหมีตัวนี้ว่า “แพดดิงตัน” ตามชื่อสถานีรถไฟที่พวกเขาได้พบกัน
จากเรื่องราวสั้นๆ ขยายต่อมาเป็นเรื่องราวการผจญภัยกว่า 20 เล่ม กลายเป็นตัวการ์ตูนบนจอแก้วนับครั้งไม่ถ้วน และได้มีภาพยนต์บอกเล่าเรื่องราวของตัวมันในปี 2014 หนังสือเล่าเรื่องราวของเจ้าหมีแพดดิงตันนั้นขายได้มากกว่า 35 ล้านเล่มทั่วโลก และถูกแปลไปกว่า 40 ภาษา รวมถึงภาษาละตินด้วย
บอนด์เกิดที่เมืองนิวแบรี่ ทางอังกฤษตอนใต้ ในวันที่ 13 มกราคม 1926 เขาได้เข้าทำงานกับทั้งทางกองทัพอากาศ พิเศษและกองทัพอังกฤษในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มเขียนเรื่องราวต่างๆ ในระหว่างประจำการอยู่ในกองทัพที่อียิปต์ในปี 1945 เมื่อปลดประจำการ เขาเข้าทำงานในฐานะช่างภาพกับ BBC ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาเริ่มสร้างสรรค์ตัวละครที่โด่งดังที่สุดของเขาออกมา
แพดดิงตันได้แรงบันดาลใจมาจากหมีเท็ดดี้ที่เขาซื้อให้ภรรยาของตนเองในวันคริสมาสตร์อีฟ และตั้งชื่อมันตามชื่อของสถานีรถไฟที่เขาใช้ในการเดินทางอยู่เป็นประจำ ในวันนี้ ของเล่นของเจ้าหมีแพดดิงตันนั้นมีอยู่มากมาย จำหน่ายอยู่ในร้ามนของของเล่นและของฝากทั่วเกาะอังกฤษ รูปปั้นของเจ้าหมีที่รักตัวนี้ถูกตั้งไว้ที่สถานีรถไฟที่มีชื่อเดียวกับมัน
ในระหว่างการสร้างแพดดิงตันที่ไร้บ้านนั้น บอนด์เขียนึงความทรงจำเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพที่พบเจอได้ตามสถานีรถไฟของอังกฤษก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้มองหาสถานที่ปลอดภัย เด็กๆ มากมายล้วนแต่มีป้ายชื่อคล้องไว้ที่คอ
บอนด์กล่าวว่า ความรู้สึกของการช่วยเหลือ “เป็นส่วนที่สำคัญมากต่อลักษณะนิสัยของแพดดิงตัน” นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กๆ จึงถูกดึงดูดเข้าหาแพดดิงตันได้ง่ายนัก
อธิบายถึงตัวละครที่อยู่มายาวนาน ในปี 2008 บอนด์เคยกล่าวไว้ว่า “หมีพวกนี้มันมีอะไรบางอย่างที่ทำให้พวกมันแตกต่างจากของเล่นอย่างอื่นๆ “ผมคิดว่า ตุ๊กตานั้นสงสัยอยู่ตลอดแหละว่ามันจะต้องสวมอะไรต่อไป” เขากล่าวกับเหล่าสื่อมวลชน “หมีพวกนี้มีคุณภาพที่จะทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าสามารถเล่าความลับให้พวกมันฟังได้ แล้วเรื่องเหล่านั้นก็จะไม่รั่วไหลไปไหน”
นักแสดง ฮิวจ์ บอนเนวิลล์ ผู้เล่นเป็น คุณบราวน์ ใน แพดดิงตัน เวอร์ชั่นภาพยนตร์กล่าวว่าเขาได้ข่าวการเสียชีวิตของบอนด์ในวันสุดท้ายของการถ่ายทำหนังเรื่องต่อไปของเขา บอนเนวิลล์กล่าวว่า “ความกระตือรือล้น และการมองโลกในแง่ดี” ของเจ้าหมีแพดดิงตันนั้น “สร้างความรู้สึกดีๆให้กับนักแสดงนับล้าน จากรุ่นสู่รุ่น”
“แฟนๆจากทั่วโลกจะคิดถึงเขามากแน่นอน โดยเฉพาะภรรยาของเขา ซู, ครอบครัวของเขา และแน่นอนว่าหนูตะเภาของเขาด้วย” บอนเนวิลล์เอ่ย “เขาได้ทิ้งมรดกไว้แล้ว: อยู่ต่อไปตราบนานเท่านานนะ เจ้าหมีจากป่าลึกของเปรู”
ในเรื่องราวเสริมของแพดดิงตัน บอนด์ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเจ้าหนูตะภาตัวน้อย นาม โอลก้า ดา โปลก้า และนิยายสำหรับผู้ใหญ่เกี่ยวกับนักสืบชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ มงซิเยอร์ ปองเประอมูสซ ด้วย
บอนด์จะยังมีชีวิตอยู่ต่อไป ในความทรงจำของทุกคน ในภรรยาของเขา ในของเขา คาเรน และ แอนนี่
ที่มา Foxnews.com