โมซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอโปลด์ โมซาร์ท (ค.ศ. 1719 - ค.ศ. 1787) รองประธานโบสถ์ในความอุปถ้มภ์ของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งซัลสบูร์ก (Salzbourg) กับแอนนา มาเรีย เพิร์ต (Anna Maria Pert) (ค.ศ. 1720 - ค.ศ. 1778) โวล์ฟกัง อะมาเด (ที่ไม่เคยถูกเรียกว่า อะมาเดอุส ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกของพิธีศีลจุ่ม) ได้แสดงได้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรีก่อนวัยอันควรตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีหูที่ยอดเยี่ยมและความจำที่แม่นยำความสามารถพิเศษยิ่งยวดทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขาให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขาตั้งแต่อายุห้าขวบ โมซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยินและเล่นทวนได้อย่างถูกต้องตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ต KV.2, 4 และ 5 และ อัลเลโกร KV.3)
ระหว่าง ค.ศ. 1762 ถึง ค.ศ. 1766 เขาได้เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตกับบิดา (ที่เป็นลูกจ้างของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาค (Schrattenbach) และมาเรีย-อานนา พี่สาวคนโต (มีชื่อเล่นว่า "แนนเนิร์น" เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1751) พวกเขาเปิดการแสดงในนครมิวนิคเป็นแห่งแรก ตามมาด้วยกรุงเวียนนา ก่อนที่จะออกเดินสายครั้งใหญ่ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่ มิวนิค ออกสบูร์ก มันน์ไฮม์ แฟรงค์เฟิร์ต บรัสเซล ปารีส ลอนดอน เฮก อัมสเตอดัม ดิจง ลียง เจนีวา โลซาน) การแสดงของเขาประทับใจผู้ชมเป็นอย่างมาก และยังทำให้เขาได้พบกับแนวดนตรีใหม่ๆอีกด้วย เขาได้พบกับนักดนตรีสามคนที่ต้องจดจำเขาไปตลอดชีวิต อันได้โยฮัน โชเบิร์ต ที่กรุงปารีส โยฮันน์ คริสเทียน บาค (บุตรชายคนรองของ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค) ที่กรุงลอนดอน และเบอร์นัว แมร์ล็องผู้ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก ที่เมืองปาดู แมร์ล็องนี่เองที่ทำให้โมซาร์ทได้ค้นพบ เปียโนฟอร์ท ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ต้นคริสตศตวรรษที่ 18 และโอเปร่าในแบบของชาวอิตาเลียน แมร์ล็องยังได้สอนให้เขาแต่งซิมโฟนีอีกด้วย
เมื่อปี ค.ศ. 1767โมซาร์ทได้ประพันธ์โอเปร่าเรื่องแรกตั้งแต่อายุได้ 11 ปี ชื่อเรื่อง อพอลโล กับ ไฮยาซิน (K.38) เป็นบันเทิงคดีภาษาละตินที่แต่งให้เปิดแสดงโดยคณะนักเรียนของโรงเรียนมัธยมที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแห่งเมืองซัลสบูร์ก เมื่อเขาเดินทางกลับถึงประเทศออสเตรีย เขาได้เดินทางไปยังกรุงเวียนนาบ่อยครั้ง และได้แต่งโอเปร่าสองเรื่องแรก ได้แก่ นายบาสเตียน กับ นางบาสเตียน และ ลา ฟินตา ซ็อมปลิซ ตลอดช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1768 เมื่อมีอายุได้ 12 ปี ในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าชายอาร์คบิชอปให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงานโดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมซาร์ทได้เดินทางไปประเทศอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับโอเปร่า อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร (Les Noces de Figaro) ดอนจิโอแวนนี โคสิ แฟน ตุตเต้ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ฯลฯ) เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และ ความสามารถในการควบคุมเสียงอันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้น
โชคไม่ดีที่ ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1771 เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาคได้สิ้นชีพิตักษัย เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโดได้กลายมาเป็นนายจ้างคนใหม่ของเขา
รับใช้เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโด (ค.ศ. 1773 - ค.ศ. 1781)
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทโมซาร์ทไม่มีความสุขที่บ้านเกิดของเขา เนื่องจากนายจ้างใหม่ไม่ชอบให้เขาออกไปเดินทางท่องเที่ยว และยังบังคับรูปแบบทางดนตรีที่เขาได้ประพันธ์ให้กับพิธีทางศาสนา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาไม่ยินดีที่จะยอมรับข้อบังคับนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอาร์คบิชอปเสื่อมถอยลงในอีกสามปีต่อมา โชคดีที่เขาได้รู้จักกับ โยเซฟ เฮย์เด้นซึ่งก็ได้มาเป็นเพื่อนโต้ตอบทางจดหมายและเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดชีวิต
"ข้าต้องการพูดต่อหน้าพระเจ้า ในฐานะชายผู้ซื่อสัตย์ บุตรชายของท่านเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ข้าเคยรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักเป็นการส่วนตัวหรือรู้จักเพียงในนาม เขามีรสนิยม และนอกเหนือจากนั้น เป็นศาสตร์ทางการประพันธ์ดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"ในจดหมายที่ โยเซฟ เฮย์เด้น เขียนถึง เลโอโปลด์ โมซาร์ท
"มีเขาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้จักเคล็ดลับที่จะทำให้ข้าหัวเราะ และสัมผัสจิตวิญญาณส่วนที่อยู่ลึกสุดของข้าเอง" โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท กล่าวถึงโยเซฟ เฮย์เด้น
ในปีค.ศ. 1776 โมซาร์ทมีอายุได้ 20 ปี และได้ตัดสินใจเิดินทางออกจากเมืองซัลสบูร์ก อย่างไรก็ดี เจ้าชายอาร์คบิชอป ได้ปฏิเสธไม่ให้บิดาของเขาไปด้วย และบังคับให้เขาลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต หลังจากการเตรียมการเป็นเวลาหนึ่งปี โมซาร์ทได้จากไปพร้อมกับมารดา โดยเดินทางไปยังนครมิวนิคเป็นแห่งแรก ที่ซึ่งเขาหาตำแหน่งงานไม่ได้ จากนั้นจึงไปที่เมืองออกสบูร์ก และท้ายสุดที่มันน์ไฮม์ ที่ซึ่งเขาได้ทำความรู้จักกับนักดนตรีมากมาย อย่างไรก็ดี แผนการที่จะหาตำแหน่งงานของเขาไม่เป็นผลสำเร็จ ในระหว่างนั้นเองที่เขาได้ตกหลุมรักอลอยเซีย วีเบอร์ นักเต้นระบำแคนตาตาสาวอย่างหัวปักหัวปำ ที่ทำให้บิดาของเขาโกรธมาก และขอให้เขาอย่าลืมอาชีพนักดนตรี โมซาร์ทมีหนี้สินล้นพ้นตัว เขาเริ่มเข้าใจว่าจะต้องออกหางานทำต่อไปและออกเดินทางไปยังกรุงปารีสในเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 1778
เป็นอิสระที่กรุงเวียนนา (ค.ศ. 1782-ค.ศ. 1791)
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท ค.ศ. 1777ในปีค.ศ. 1781โมซาร์ทเดินทางไปยังกรุงเวียนนากับเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโด ผู้ได้เลิกจ้างโมซาร์ทที่เวียนนา โมซาร์ทจึงตั้งรากฐานอยู่ที่เวียนนาเมื่อเห็นว่าชนชั้นสูงเริ่มชอบใจในตัวเขา และในปีเดียวกันนั้น โมซาร์ทได้แต่งงานกับคอนสแตนซ์ วีเบอร์ โดยที่บิดาของโมซาร์ทไม่เห็นด้วยกับงานวิวาห์นี้ โมซาร์ทและคอนสแตนซ์มีลูกด้วยกันถึงหกคน ซึ่งเพียง 2 คนรอดพ้นวัยเด็ก
ปีค.ศ. 1782เป็นปีที่ดีสำหรับโมซาร์ท โอเปร่าเรื่อง Die Entführung aus dem Serail ประสบความสำเร็จอย่างมาก และโมซาร์ทก็ได้แสดงคอนเสิร์ตชุดที่เขาเล่นในเปียโนคอนแซร์โตของเขาเอง
ระหว่างปีค.ศ. 1782 - ค.ศ. 1783 โมซาร์ทได้รับอิทธิพลจากผลงานของบาค และแฮนเดลผ่านบารอนก็อตตเฟร็ด วอน สวีเทน(Baron Gottfried van Swieten) แนวเพลงของโมซาร์ทจึงได้รับอิทธิพลจากยุคบาโรคตั้งแต่นั้นมา อย่างที่เห็นได้ชัดในท่อนฟิวก์ของ ขลุ่ยวิเศษ และซิมโฟนี หมายเลข 41
ในช่วงนี้เอโมซาร์ทได้มารู้จักและสนิทสนมกับโยเซฟ เฮเด้น โดยทั้งสองมักจะเล่นในวงควอเตทด้วยกัน และโมซาร์ทก็ยังเขียนควอเตทถึงหกชิ้นให้เฮเด้น เฮเด้นเองก็ทึ่งในความสามารถของโมซาร์ท และเมื่อได้พบกับลีโอโปล์ด พ่อของโมซาร์ท ได้กล่าวกับเขาว่า "ต่อหน้าพระเจ้าและในฐานะคนที่ซื่อสัตย์ ลูกของท่านเป็นนักประพันธ์ที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้พบหรือได้ยิน เขามีรสนิยม และมากกว่านั้น เขามีความรู้เรื่องการประพันธ์" เมื่อโมซาร์ทอายุมากขึ้น เขาก็ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 18 และเป็นฟรีเมสันที่อยู่ในสาขาโรมัน คาโทลิค โอเปร่าสุดท้ายของโมซาร์ทแสดงถึงอิทธิพลฟรีเมสันนี้
ชีวิตของโมซาร์ทมักพบกับปัญหาทางการเงินและโรคภัยไข้เจ็บ โมซาร์ทย่อมไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับงานของเขา และเงินที่เขาได้รับนั้นก็ถูกผลาญด้วยวิถีชีวิตที่หรูหราอลังการ
โมซาร์ทใช้ชีวิตในช่วงปีค.ศ. 1786 ที่กรุงเวียนนาในอพาร์ตเมนท์ที่จนถึงวันนี้ยังสามารถเข้าชมได้ที่ดอมกาส 5 (Domgasse 5)หลังโบสถ์แซนท์สตีเฟน (St. Stephen's Cathedral) โมซาร์ทประพันธ์ Le nozze di Figaro และ Don Giovanni ณ ที่แห่งนี้
บั้นปลายชีวิต
บั้นปลายและการเสียชีวิตของโมซาร์ทยังคงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปยากสำหรับนักวิชาการ เพราะมีทั้งตำนานและเรื่องเล่าแต่ขาดหลักฐาน มีทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าสุขภาพของโมซาร์ทเริ่มแย่ลงทีละเล็กทีละน้อย และโมซาร์ทเองก็รับรู้สภาพนี้ซึ่งปรากฏขึ้นในงานประพันธ์ของเขา แต่นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยอ้างถึงจดหมายที่โมซาร์ทเขียนถึงครอบครัว ที่ยังมีทัศนะคติที่สดใส และปฏิกิริยาของครอบครัวเมื่อได้ข่าวเรื่องการเสียชีวิตของโมซาร์ท การเสียชีวิตของโมซาร์ทยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ใบมรณภาพของโมซาร์ทบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะ"ไข้สาหัส" และมีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายการเสียชีวิตให้ละเอียดมากขึ้น
โมซาร์ทเสียชีวิตในเวลาประมาณ 01.00 น. วันที่ 5 เดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1791 ในขณะที่เขากำลังประพันธ์เพลงเรเควียม ที่ประพันธ์ไม่เสร็จ ตามตำนานที่เล่าลือ โมซาร์ทตายโดยที่ไม่เหลือเงินและถูกฝังในหลุมศพของคนอนาถา ร่างของโมซาร์ทถูกฝังอย่างเร่งรีบในที่ฝังศพสาธารณะ เพราะระหว่างที่นำศพไปนั้นเกิดมีพายุแรงและฝน ลูกเห็บตกอย่างหนัก ทำให้หีบศพถูกหย่อนไว้ร่วมกับศพคนยากจนอื่นๆ ไม่มีเครื่องหมายใดว่านี่คือศพของโมซาร์ท
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ โมซาร์ทไม่เป็นที่นิยมชมชอบอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เขายังคงมีงานที่มีรายได้ดีจากราชสำนัก และยังได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมากจากส่วนอื่นๆของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรุงปราก ยังมีจดหมายขอความช่วยเหลือทางการเงินของโมซาร์ทหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าเขาจนเพราะรายจ่ายเกินรายรับ ศพของเขาไม่ได้ถูกฝังในหลุมฝังศพรวม แต่ในสุสานของชุมชนตามกฎหมายของปีค.ศ. 1783 แม้ว่าหลุมศพดั้งเดิมในสุสานเซนต์มาร์กจะหายไป แต่ก็มีป้ายหลุมศพที่ตั้งไว้เป็นอนุสรณ์สถานในเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ
ในปีค.ศ. 1809 คอนสแตนซ์ได้แต่งงานใหม่กับจอร์จ นีโคเลาส์ ฟอน นีสเสน นักการทูตชาวเดนมาร์ก (ชาตะค.ศ. 1761 มรณะค.ศ. 1826) ผู้ซึ่งหลงใหลคลั่งใคล้ในตัวโมซาร์ทอย่างมาก ถึงกับแต่งเรื่องราวเกินจริงจากจดหมายของโมซาร์ท และแต่งชีวประวัติของคีตกวีเอกอีกด้วย
โมซาร์ทมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยธนบุรี
ผลงานชิ้นเอก
คาตาล็อกเคอเชล (Köchel catalogue)
ในปีภายหลังการเสียชีวิตของโมซาร์ท ได้มีความพยายามหลายครั้งที่จะจัดเรียงบัญชีผลงานของโมซาร์ท และเป้นลุดวิก ฟอน เคอเชล (Ludwig von Köchel) ที่ประสบความสำเร็จ และในปัจจุบันผลงานของโมซาร์ทมักจะมีตัวเลขของเคอเชลติดกำกับอยู่ อย่างเช่น"เปียโนคอนแชร์โตในบันไดเสียงเอเมเจอร์" มักเรียกกันง่ายๆ ว่า "K. 488" หรือ "KV 488" ได้มีการดัดแปลงคาตาล็อกนี้เป็นจำนวน 6 ครั้งด้วยกัน
เพลงสวด
Grande messe en ut mineur KV.427 (1782-83, เวียนนา), แต่งไม่จบ
Krönungsmesse (พิธีมิซซาเพื่อขึ้นครองราชย์) en ut majeur KV.317 (1779)
Requiem en ré mineur KV.626 (1791, เวียนนา), แต่งไม่จบ
Veni sancte spiritus KV.47
Waisenhaus-Messe KV.139
Ave verum corpus KV.618
โอเปร่า
Bastien et Bastienne KV.50 (1768)
La Finta Giardiniera KV.196 (1775, Munich)
Zaïde KV. 344 (1779) - Opéra inachevé
Idomeneo, Rè di Creta KV.366 (1781, Munich)
Die Entführung aus dem Serail (L'enlèvement au sérail) KV.384 (1782, Vienne)
Le nozze di Figaro (Les noces de Figaro) KV.492 (1786, Vienne)
Der Schauspieldirektor (Le Directeur de Théâtre) KV.486 (1786)
Don Giovanni KV.527 (1787, Vienne et Prague)
Così fan tutte KV.588 (1790, Vienne)
La Clemenza di Tito (La clémence de Titus) KV.621 (1791)
ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) KV.620 (1791, Vienne)
"Lucio Silla" KV 135 (Milan 26 dec 1772)
ซิมโฟนี
Symphonie en fa majeur KV.75
Symphonie en fa majeur KV.76
Symphonie en fa majeur KV.Anh.223
Symphonie en ré majeur KV.81
Symphonie en ré majeur KV.95
Symphonie en ré majeur KV.97
Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.214
Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.216
Symphonie en sol majeur «Old Lambach» (2e édition) KV.Anh.221
Symphonie en ut majeur KV.96
Symphonie No 1 en mi b majeur KV.16 (1764-1765)
Symphonie No 4 en ré majeur KV.19
Symphonie No 5 en si bémol majeur KV.22
Symphonie No 6 en fa majeur KV.43
Symphonie No 7 en ré majeur KV.45
Symphonie No 8 en ré majeur KV.48
Symphonie No 9 en ut majeur KV.73
Symphonie No 10 en sol majeur KV.74
Symphonie No 11 en ré majeur KV.84
Symphonie No 12 en sol majeur KV.110
Symphonie No 13 en fa majeur KV.112
Symphonie No 14 en la majeur KV.114
Symphonie No 15 en sol majeur KV.124
Symphonie No 16 en ut majeur KV.128
Symphonie No 17 en sol majeur KV.129
Symphonie No 18 en fa majeur KV.130 (1772)
Symphonie No 19 en mi bémol majeur KV.132
Symphonie No 20 en ré majeur KV.133
Symphonie No 21 en la majeur KV.134 (1772)
Symphonie No 22 en do majeur KV.162 (1773)
Symphonie No 23 en ré majeur KV.181
Symphonie No 24 en si bémol majeur KV.182
Symphonie No 25 en sol mineur KV.183 (1773, Salzbourg)
Symphonie No 26 en mi bémol majeur KV.184
Symphonie No 27 en sol majeur KV.199
Symphonie No 28 en ut majeur KV.200
Symphonie No 29 en la majeur KV.201 (1774)
Symphonie No 30 en ré majeur KV.202
Symphonie No 31 en ré majeur «Paris» KV.297
Symphonie No 32 en sol majeur KV.318
Symphonie No 33 en ré bémol majeur KV.319
Symphonie No 34 en ut majeur KV.338
Symphonie No 35 en ré majeur «Haffner» KV.385 (1782)
Symphonie No 36 en ut majeur «Linz» KV.425
Symphonie No 38 en ré majeur «Prague» KV.504 (1786, Vienne)
Symphonie No 39 en mi bémol majeur KV.543 (1788, Vienne)
Symphonie No 40 en sol mineur KV.550 (1788, Vienne)
Symphonie No 41 en do majeur «Jupiter» KV.551 (1788, Vienne)
คอนแชร์โต้
Concertos pour flûte N°1 et 2 KV. 313 et 314 (1778, Mannheim)
Concerto pour flûte et harpe en do majeur KV.299 (1778, Paris)
Concerto pour cor No 1 en ré KV.412 (1782)
Concerto pour cor No 2 en mi dièse KV.417 (1783)
Concerto pour cor No 3 en mi bémol KV.447 (1783-1787)
Concerto pour piano No 9 en mi bémol « Jeune Homme » KV.271 (1777)
Concerto pour piano No 13 en do majeur KV.415 (1783)
Concerto pour piano No 16 en ré majeur KV.451 (1784)
Concerto pour piano No 17 en sol majeur KV.453 (1784)
Concerto pour piano No 19 en fa majeur KV.459
Concerto pour piano No 20 en ré mineur KV.466 (1785, Vienne)
Concerto pour piano No 21 en do majeur KV.467 (1785, Vienne)
Concerto pour piano No 22 en mi bémol
Concerto pour piano No 23 en la majeur KV.488 (1786, Vienne)
Concerto pour piano No 24 en ut mineur KV.491 (1786, Vienne)
Concerto pour piano No 26 en ré majeur « จากพิธีขึ้นครองราชย์ » KV.537 (1788)
Concerto pour piano No 27 en si bémol majeur KV.595
Concerto pour clarinette en la majeur KV.622 (1791, Vienne)
Concerto pour basson en si bémol KV.191 (1774)
Concerto pour violon et orchestre No 1 en si bémol majeur KV.207
Concerto pour violon et orchestre No 3 en sol majeur KV.216
Concerto pour violon et orchestre No 5 en la majeur KV.219
< แชมเบอร์มิวสิก
Sonate pour piano en la mineur KV.310 (1778, Paris)
Sonate pour piano en la majeur «Alla turca» KV.331 (1781-83, Munich ou Vienne), Media:RondoAllaTurca.mid
Sonate pour piano, KV. 545, Media:Kv545-allegro.mid
Sonate pour violon et piano en ut majeur KV.296
Quatuors dédiés à Haydn :
Quatuor en sol majeur KV.387 (1782, Vienne)
Quatuor en ré mineur KV.421 (1783, Vienne)
Quatuor en mi bémol majeur KV.428 (1783, Vienne)
Quatuor en si bémol majeur «la chasse» KV.458 (1784, Vienne)
Quatuor en la majeur KV.464 (1785, Vienne)
Quatuor en do majeur «les dissonances» KV.465 (1785, Vienne)
Quatuors avec piano :
Quatuor avec piano n°1 en sol mineur KV.478 (1785)
Quatuor avec piano n°2 en mi bémol majeur KV.493 (1786)
Trio «Les Quilles» en mi bémol majeur pour piano, clarinette, et violon KV.498 (1786, Vienne)
Quintette avec clarinette en la majeur KV.581 (1789, Vienne)
Sérénade : Une petite musique de nuit KV.525 (1787, Vienne)