ปณิตา พัฒนาหิรัญ
|
‘หนิง’ ใช้สติแก้ปัญหา ลูกคือที่สุดของชีวิต
อีกหนึ่งคุณแม่ที่ผ่านปัญหามาไม่น้อยในช่วงที่ผ่านมา แต่ด้วยความที่มีลูกเป็นแก้วตาดวงใจ เลยทำให้ หนิง-ปณิตา ธรรมวัฒนะ นั้น ทุ่มเททุกอย่างเพื่อลูก และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ จนวันนี้เธอกลายเป็นเวิร์กกิ้งมัม ที่ทำหน้าที่แม่ได้เป็นอย่างดี แถมเรื่องงานก็ยังไม่บกพร่อง วันนี้หนิงเปิดใจกับ “ดาวต่างมุม” เพื่อพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวความเป็นแม่ของหนูน้อย ณิริน-ด.ญ.ปณิริน ธรรมวัฒนะ วัย 8 เดือน มีแง่คิดและเรื่องราวที่น่าสนใจไม่น้อย
ที่มา: เดลินิวส์
|
|
|
|
คำถาม
|
ชีวิตความเป็นแม่ ณ วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง?
|
หนิง
|
“โอ้โห เรียกได้ว่าเป็นชีวิตมหัศจรรย์อีกชีวิตหนึ่งเหมือนกัน ความเป็นแม่ของแต่ละคนไม่เหมือนกันนะ แต่สิ่งหนึ่งที่หนิงว่าทุกคนมีคือ มีความทุ่มเททุกอย่างทั้งชีวิตจิตใจ คือเพื่อลูกจริง ๆ ณิรินก็เหมือนเด็กทั่ว ๆ ไปคือ ถ้าง่วงนอน หิวนม จะค่อนข้างงอแง อะไรก็ไม่เอา แต่ถ้าเขานอนหลับ กินอิ่ม เขาจะเป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายมาก แล้วก็สบาย ๆ คือสามารถจะอยู่กับคนรอบ ๆ ข้างได้ อารมณ์ดี หัวเราะตลอดเวลา แต่ถ้าเวลานางไม่พอใจนางก็สุด ๆ เหมือนกัน หนิงจะไม่ใช่แม่ที่ประคบประหงม หนิงจะเป็นแม่ที่เลี้ยงดูอารมณ์และจิตใจของเขาเป็นหลัก เขาชอบและไม่ชอบอะไร พอเขาเริ่ม 6 เดือนขึ้น เขาเริ่มหัดเอาแต่ใจตัวเอง ถ้าเขาไม่พอใจก็จะร้อง ร้อง ร้อง แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นธรรมชาติในวัยเขา หนิงก็จะอุ้ม โอบกอด ไม่ให้เขาร้องหนัก แต่ถ้าอะไรที่เขาร้องเพราะต้องการเอาแต่ใจ หนิงจะอุ้มเขาแป๊บเดียว แล้วใช้วิธีพูดคุยกับเขา จะบอกว่าถ้ายังร้องอย่างนี้อีกจะวางลง แต่ถ้าหยุดร้องเดี๋ยวจะอุ้มขึ้นมานะ หนิงทำอย่างนี้กับเขาอยู่พักหนึ่ง ถึงแม้เขายังพูดไม่ได้ แต่หนิงเชื่อว่าวิธีการสื่อสารของหนิงกับเขาเข้าใจกัน”
|
|
คำถาม
|
เลี้ยงลูกเองทุกเม็ดเลยหรือเปล่า?
|
หนิง |
“จะใช้คำว่าทุกเม็ดเลยคงไม่ใช่ทั้งหมด ในช่วง 3-4 เดือนแรก อาจจะใช่ แต่ช่วงนี้หนิงก็ออกมาทำงาน ต้องมาดูในเรื่องของธุรกิจ ดร.จ๊าด เองด้วย แล้วก็มีงานเบื้องหลังที่หนิงทำรายการทีวี งานพิธีกรรายการปากโป้ง ทางช่อง 8 แต่ก็มีคุณย่ากับคุณยายช่วยกับพี่เลี้ยงด้วย แต่ว่าชีวิตหนิงจะเปลี่ยนไปตรงที่ว่า ถ้าหนิงทำงานช่วงเช้าแล้ว ไม่เกิน 3-4 ชม. หนิงจะต้องกลับเข้าบ้าน เพื่อที่จะไปให้นมให้เขาดื่มจากเต้าเราเอง และไม่อยากให้เขารู้สึกว่าแม่ทิ้งเขาทั้งวัน พอกลับเข้าไปอาจจะอยู่กับเขาสักประมาณ 1-2 ชม. และก็อาจจะออกมาทำงานต่อ แล้วตอนเย็นถ้าไม่มีอะไรก็จะอยู่กับเขายาว ๆ หรือว่าต้องแบ่งวัน อย่างวันนี้ทำงานติดกัน 2 วัน อีกวันหนึ่งก็ต้องไม่ทำอะไร ต้องอยู่กับเขาทั้งวัน เป็นการจัดสรรเวลา เพราะเด็กวัย 1-2 ขวบ สิ่งสำคัญที่สุดคือความอบอุ่นในครอบครัว แต่วิธีการของหนิง หนิงก็จะไม่ตามใจลูกมาก หนิงจะโดนคอมเมนต์จากหลาย ๆ คนว่าทำไมไม่เบรกงานไปเลย แต่ในมุมมองของหนิง หนิงยังมองว่าทุกวันนี้สังคมเรามันพัฒนาอะไรไปหลายอย่าง เร็วมากจนน่ากลัว ถ้าเราไม่ออกมาทำงาน ไม่ออกมาใช้ชีวิตให้ทัน และเราเป็นแม่ที่อยู่แต่กับลูก อยู่แต่กับบ้าน วันหนึ่งที่ลูกเราโตขึ้นมาเขาต้องออกมาเผชิญสู่สังคม เราจะกลายเป็นแม่ที่ติดลูก แต่ถ้าเราเป็นแม่ที่เข้าใจสังคมทำตัวให้อัพเดทกับสังคม แล้วทำตัวเป็นแม่ที่เป็นเพื่อนกับลูก หนิงว่าวันนั้นลูกเราจะไม่มีปัญหา”
|
|
|
|
คำถาม
|
การเลี้ยงลูกแตกต่างไปจากสมัยหม่าม้าเลี้ยงหนิงยังไงบ้าง?
|
หนิง
|
“แทบจะไม่ค่อยแตกต่างเลย เพราะว่าแม่หนิงก็เลี้ยงแบบนี้ คือเป็นเพื่อน วิธีการเลี้ยงคล้ายกัน ถ้าจะแตกต่างก็คือในเรื่องของการประคบ ประหงม แม่ค่อนข้างจะประคบประหงมหนิงเยอะ กลัวนั่นกลัวนี่ ตอนนี้ณิรินเริ่มคลาน เริ่มจะลุกขึ้นนั่ง ยายกลัวมาก กลัวจะล้ม เดี๋ยวเจ็บ สำหรับหนิงจะหัดให้เขารู้ว่าเจ็บเป็นยังไง ถ้าไม่อย่างนั้นเขาจะไม่รู้ว่าเขาจะทำยังไงให้เขาคลานได้ คนเรามันต้องมีเจ็บ ไม่อย่างนั้นจะไม่รู้ว่าวิธีการป้องกันตัวเองจากความเจ็บเป็นยังไง หนิงอยากเลี้ยงลูกให้ลูกแข็งแรง เข้มแข็ง และช่วยตัวเองได้”
|
คำถาม
|
คุณพ่อมีส่วนร่วมในการช่วยเลี้ยงยังไงบ้าง?
|
หนิง
|
“หนิงทะเลาะกันบ่อยมาก เพราะจินนี่สปอยลูกมาก ตามใจสุด ๆ เขาจะเป็นคนที่ลูกร้อง ลูกแอ๊ะ อะไรไม่ได้เลย แล้วเขาก็รู้ด้วยนะว่าที่ลูกร้องจะเอาอะไร อย่างของเล่นมีอยู่ 2 ชิ้น เขาเล่นอยู่ชิ้นหนึ่ง แต่พอมีคนมาหยิบอีกชิ้นเขาจะร้องทันที เหมือนเอาของเขาไป พ่อจะบอกว่าไม่เป็นไรเขายังเด็กอยู่ แต่เราจะไม่สอนลูกแบบนั้น ของทุกชิ้นต้องแบ่งกัน ถ้าจะร้องเพราะมีคนเอาของเล่นหยิบขึ้นไป ไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผล คือหนิงจะสอนตั้งแต่ตอนนี้ แต่พ่อเขาจะบอกว่า ลูกยังเด็กอยู่ บางทีตามใจไปหยิบอัน 3-4 มาให้อีก ทุกวันนี้ถ้าเขาอยู่นะ ลูกจะไม่เอาหนิงเลย ทั้ง ๆ ที่ลูกใช้เวลาอยู่กับหนิงเยอะกว่าอยู่กับเขาเยอะเลย”
|
|
คำถาม |
วางแผนชีวิตลูกยังไงบ้าง?
|
หนิง |
"ไม่มีวางแผน ถ้าจะวางแผนก็คงเป็นเหมือนแม่ทุกคนที่ว่าอยากจะให้เรียนดี ๆ ได้เป็นเด็กที่ดี โตขึ้นมาทำประโยชน์ให้ครอบครัว ให้สังคม แต่ว่าจะเป็นลูกแบบไหน หนิงก็รอเขาที่เขาจะเป็น แต่อาจจะมีสร้างให้เขา ดูว่าเขาชอบอะไร อย่างเช่น ช่วงนี้ก็มีพาไปเรียนว่ายน้ำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ พัฒนาการเขาจะได้ดี ก็วางแผนไว้ว่าอาจจะให้มีเรียนดนตรี เรียนศิลปะ ถ้าเรียนทั้งภาษา ศิลปะ ดนตรี เด็กก็จะพัฒนาหลาย ๆ อย่าง แล้วก็ดูเขาว่าเขาชอบอะไร ให้เขาได้ลองหลาย ๆ อย่าง อันนี้อาจจะเป็นแผนการ ในเรื่องโรงเรียนก็ยังเถียงกันอยู่ หนิงอยากให้เรียนโรงเรียนไทย พ่อเขาอยากให้เข้าอินเตอร์ แต่สุดท้ายจากเหตุผลหลาย ๆ ฝ่ายที่ฟังมา ก็อาจจะยอมให้เข้าอินเตอร์ แต่ขอให้เป็นอินเตอร์ที่มีกลุ่มสังคมคนไทย ตอนแรกจะเอาไปเรียนโรงเรียนที่มีสังคมฝรั่งเยอะเกินไป เราก็รู้สึกว่า ฝรั่งเหล่านี้ต่างคนต่างมาเรียน พอถึงเวลาจบเขาก็ต่างคนต่างกลับประเทศเขา เราก็จะไม่มีกลุ่มก้อนที่เป็นสังคมคนไทย แต่ก็ตกลงกันได้ว่าโอเคให้เรียนโรงเรียนที่บรรดาลูกเพื่อน ๆ เรียน ตอนนี้ก็วางแผนไว้แค่เรื่องเรียน แต่โตขึ้นเขาจะเป็นยังไง คือรอดูเขา ส่วนจะให้ลูกอยู่ในวงการไหมอันนั้นไม่คิดเลยค่ะ แต่อย่างหนึ่งที่เราตั้งใจและอยากให้เป็นคือ อยากให้เขาชอบดนตรี อยากให้ลูกร้องเพลงเก่ง ๆ คือเป็นสิ่งเดียวที่หนิงทำไม่ได้คือร้องเพลง หนิงรู้สึกว่าการร้องเพลงมันมีเสน่ห์จัง เวลาไปไหน เวลาเข้าสังคม มันช่วยทำให้ตัวเขามีกิจกรรม แต่ถ้าเขาไม่เอาก็ไม่เอานะ สุดท้ายเด็กอาจจะเปลี่ยนก็ได้ วันนี้ชอบแบบนี้ อีกวันชอบอีกอย่าง คือจะไม่บังคับเขา เอาเป็นว่าถ้าเขาอยากทำอะไรจะพยายามส่งเสริมเขาอย่างที่อยากทำ”
|
|
|
|
คำถาม |
เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะมีณิรินคนเดียว?
|
หนิง |
“ถ้าจะมีอีกหนิงก็ไม่ได้ปิดกั้น มันคงเป็นเรื่องของดวง เรื่องของธรรมชาติ แต่ด้วยความที่เรายังเป็นผู้หญิงทำงานอยู่ เราอยากมีเวลาให้กับลูกได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ได้หมายความว่ามีลูกหลาย ๆ คนแล้วจะไม่มีคุณภาพนะ แต่เรารู้ว่าตัวเรามีเวลาให้ลูกได้แค่ไหน ไม่กลัวลูกจะเหงา เพราะน้องสาวของหนิงเองก็เตรียมจะมีลูก ซึ่งครอบครัวหนิงพี่น้องรักกันมาก เราก็เลยคิดว่าเราไม่ขาดอะไรในเรื่องของความอบอุ่นตรงนี้ ถ้าน้องเรามีลูก เรามีลูก ลูกเราก็จะเป็นเพื่อนกัน แล้วยังจะมีลูกเพื่อน ๆ อีกหลายคนที่อยู่ในกลุ่มก๊วนวัยเดียวกัน”
|
คำถาม
|
ตอนที่เกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว มันหนักขนาดไหน?
|
หนิง
|
“จริง ๆ ต้องบอกว่ามันที่สุดในชีวิตแล้ว เพราะว่ามันเป็นเรื่องแปลกใหม่มาก ในจังหวะที่เราก็มีอะไรแปลกใหม่ คือเรามีลูก เรามีอะไรที่เราต้องทุ่มเททุกอย่างให้กับคน ๆ หนึ่ง และก็มีปัญหาอีก ซึ่งมันก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคน ๆ หนึ่ง นั่นคือเรื่องของครอบครัว ก็ทำอะไรไม่ได้นะ เวลานั้นก็ต้องเลือก เลือกที่จะรู้จักว่า อะไรมันสำคัญสุดก็เอาตรงนั้นก่อน ก็จะทำให้เรานิ่งกับปัญหารองลงไป” |
|
คำถาม |
ถ้าตอนนั้นไม่มีณิรินจะจัดการกับปัญหายังไง?
|
หนิง |
“ถ้าวันนั้นไม่มีณิรินหนิงคง จะไม่อยู่นิ่ง ๆ สามีใครใครก็รัก ใครมายุ่งกับของ ของ เรา นิสัยหนิง บอกเลย หนิงก็ลุยเหมือนกัน หนิงก็จะไม่นิ่งให้ฝ่ายตรงข้ามมาทำหนิงหรอก แต่พอมีลูก เราต้องคิดเยอะขึ้น เราต้องรู้ว่า เราทำอะไรลงไป สิ่งที่จะส่งผลตามมาถึงลูกเรามันคืออะไร มันไม่ใช่แค่ ณ ปัจจุบัน ข่าวในอนาคต เดี๋ยวนี้เด็ก 4-5 ขวบ ก็กดอินเทอร์เน็ตเป็นแล้ว ถึงแม้จะอ่านไม่ออก ดูภาพก็เข้าใจ สมัยนี้ข่าวมันมีทั้งภาพนิ่ง วิดีโอ ที่ได้ยินทั้งภาพและเสียง ถ้าไม่มีณิรินก็คงลุยตามแบบฉบับของหนิง หนิงก็เป็นหนิง เป็นคนตรง ๆ อะไรชอบก็บอกว่าชอบ ถ้าไม่ชอบก็บอกตรง ๆ แล้วถ้ามาแบบเรื่องที่มันไม่ถูกไม่ควร มันผิดศีลธรรมด้วยนะ หนิงก็คงมีวิธีจัดการที่มันเด็ดขาดกว่านี้ แต่จะถึงขั้นเลิกกันไหม เราคงไม่เลิกกัน เพราะขณะที่เขาทำผิด ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่รักเรา ในขณะที่มีเรื่องไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ดูแลเรา เขาก็ยังดูแลเรา ดูแลลูกอย่างดี ยิ่งตรงนี้สถานการณ์หลาย ๆ อย่างก็ทำให้เราคิดหนักมากขึ้น ของอย่างนี้เวลาเกิดเรื่องก็โทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ตบมือข้างเดียวมันไม่ดัง ณ วันนี้ความไว้เนื้อเชื่อใจมันก็ต้องมี คนเราเป็นครอบครัวแล้ว ใครจะว่าเข้าข้างสามีตัวเองก็ตาม หนิงว่าเกิดขึ้นกับใคร ใครก็ทำแบบนั้นเหมือนกัน เราก็ต้องรักษาครอบครัวเราให้รอด และอีกอย่างเขาก็ไม่ใช่ คนผิดคนเดียว ถ้าเขาเป็นคนผิดคนเดียวเต็ม ๆ 100% มันก็จะอีกแบบหนึ่ง แต่เรื่องราวลึก ๆ จริง ๆ เราไม่สามารถจะพูดออกมาได้ ถ้าพูดก็คือไม่จบ"
|
|
|
|
คำถาม
|
ตอนนี้ครอบครัวกลับมาเหมือนเดิมแล้ว จินมีสัญญาอะไรเป็นพิเศษไหม?
|
หนิง
|
“ไม่มีค่ะ เขาก็พูดว่า เขาจะทำอะไรให้มันดีขึ้น หนิงบอกไม่ต้องพูดเลย คำพูดไม่มีความหมายอะไรเลย สิ่งที่มีความหมายคือ พฤติกรรม ณ ปัจจุบัน ทุกวันนี้เขาก็เหมือนเดิม เพราะในวันที่มีปัญหา เขาก็เป็นแบบนี้ หนิงถึงบอกว่าตรงนี้จึงเป็นจุดที่ทำให้หนิงใจเย็นมากขึ้น เพราะว่าในวันที่เขาแอบไปนอกลู่นอกทาง เขาไม่ได้ปฏิบัติอะไรกับเราแย่ โดยพื้นฐานจิตใต้สำนึก ลึก ๆ เขาก็ยังดีกับเราเหมือนเดิม วันที่มีปัญหาเขาก็เครียดเหมือนกัน แต่เขาไม่รู้จะพูดยังไงกับเรา เพราะเขาทำผิดไปแล้ว แต่หนิงก็ไม่ได้ไปจี้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรยังไง ในวันที่หนิงรู้เรื่อง หนิงไม่ต้องไปถามอะไรเขา เพราะเพื่อนเขาทุกคนคือเพื่อนหนิงหมด ไม่มีใครเห็นสิ่งนี้เป็นสิ่งถูก และหนิงก็รู้เรื่องทุกอย่างมาจากคนรอบข้างเขาโดยที่เขาไม่จำเป็นต้องบอกหนิง”
|
คำถาม
|
จากบทเรียนที่ผ่านมาให้อะไรบ้าง?
|
หนิง
|
"ให้ความเข้มแข็ง ความมีสติ รู้จักลำดับเหตุการณ์ว่าอะไรต้องทำก่อนต้องทำหลัง คือบางครั้งอยากจะบอกทุกคนเลยว่า ปัญหามันเกิดมันแก้ไขไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องแก้ ณ วันนั้น บางทีแก้ช้ามันจะเห็นทางออกได้มากขึ้น" |
|
|
คำถาม |
ทุกวันนี้เป็นทั้งแม่และลูก อยากให้หนิงฝากอะไรถึง 2 บทบาทนี้หน่อย?
|
หนิง |
“ในเรื่องบทบาทของความเป็นลูกเนี่ย ต้องบอกว่าวันแม่ไม่ได้มีแค่วันเดียว หนิงถูกเลี้ยงดูมาให้เอาครอบครัวเป็นหลักก่อน แม่เราเป็นคนเดียวที่รับเราได้ทุกเรื่องทุกสถานการณ์ ทำให้เราได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวเองเจ็บ บางครอบครัวอาจจะมีลูกหลายคน แต่จะมีลูกสักคนไหมที่ทำให้แม่ได้เหมือนที่แม่ทำให้ลูก น้อยมากเลยนะ แล้ววันนี้เรามาเป็นแม่ เราเข้าใจคำนี้ชัดเจนเลย ไอ้สิ่งที่เราจะทำให้ลูก ยอมทุกอย่างเพื่อลูกมันคืออะไร วันที่เราอยู่ในฐานะของคนเป็นลูก เราคิดไม่ออกเลย วันนี้รู้แจ่มแจ้ง ถึงได้บอกว่าวันแม่ต้องมีทุกวัน”
เมื่อก้าวผ่านปัญหามาได้ ชีวิตจะเข้มแข็งขึ้นจริง ๆ ขอเป็นกำลังใจให้แม่หนิง และแม่ทุกคนบนโลกใบนี้ให้ฝ่าฟันอุปสรรคทุกอย่างไปได้ด้วยดี เชื่อว่า...ฟ้าหลังฝน ย่อมสดใสเสมอ.
|
|
|
* ดูประวัติ
หนิง - ปณิตา พัฒนาหิรัญ
* ดูอัลบั้ม หนิง - ปณิตา พัฒนาหิรัญ