ข่าว > ข่าวหนังทั้งหมด > วิจารณ์หนังใหม่

ฝากไว้..ในกายเธอ

7 ส.ค. 2557 09:38 น. | เปิดอ่าน 1611 | แสดงความคิดเห็น
แชร์หน้านี้ แชร์หน้านี้
 

 

ขอเชิญชาวหนังดีทุกคนมาวิพากษ์วิจารณ์หนังเรื่องนี้กันใครไปดูมาแล้ว เป็นยังไงหนุกไม่หนุกบอกกันมาเลย

*** หากจะสปอยล์เนื้อหาบางส่วนของเรื่อง แนะนำให้เตือนสมาชิกคนอื่นๆ ล่วงหน้า
โดยให้สมาชิกคนอื่นได้เห็นคำว่า
สปอยล์ หรือ Spoil กันอย่างชัดเจนด้วยนะจ๊ะ

: ฝากไว้..ในกายเธอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • “เวียร์” ยิ้มแก้มปริ นำทีม “ล่ารักสุดขอบฟ้า” หอบรางวัล “อีเอฟเอ็ม อวอร์ด”
  • “ฝากไว้..ในกายเธอ” ของผกก. จิม โสภณ เจ๋ง!! เทศกาลหนัง “East Wind Film Festival , Coventry อังกฤษ เชิญร่วมงาน
  • เก้า สุภัสสรา ลุ้น ฝากไว้..ในกายเธอ 100ล้าน ยันกระแสดาราหน้าเดียว เล่นตามบทที่ได้รับ
  • ''จิม-โสภณ'' เผยแง่มุมจากผู้กำกับฯ ฝากแง่คิดไว้ให้คนดู''ฝากไว้..ในกายเธอ''
  • ต่อ-ธนภพ ทุ่มสุดตัวเพื่อภาพยนตร์ “ฝากไว้..ในกายเธอ”
  •  
     
     
    ร่วมแสดงความคิดเห็น
     
    ชื่อ :
     
    ความคิดเห็น :
     
     
     
     

    ความคิดเห็นที่ 17  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 05:15 น.

    ในเรื่อง เพิร์ท เป็นท้องมาน มีน้ำในช่องท้องเยอะ แพทย์บอกว่ามาจาก ไวรัสตับอักเสบบี ที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    เฮ้ย!!!!!!!

    กว่าจะท้องมานได้ เพิร์ทต้องเป็นหนักเป็นเยอะแล้ว
    จนตับพัง นั่นแหละ ถึงจะท้องมาน
    สถาพคนไข้ คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ผอมซีด (ดีซ่าน)
    “น้ำหนักเพิ่ม” เนื่องจากการคั่งของน้ำและเกลืออ่อนเพลีย
    หอบเหนื่อยหายใจติดขัด เพราะมีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอด

    ไม่ใช่แข็งแรง เป็นนักกีฬาว่ายน้ำ ล่ำๆ ปกติดีๆ แล้วอยู่ๆท้องจะโตแบบนั้น!!!


    “เข้าใจตรงกันนะ”


    โรคท้องมาน มีสาเหตุดังนี้
    1.โรคตับ โดยเฉพาะ โรคตับแข็งจากสาเหตุใดก็ตาม พบได้ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมานทั้งหมด การเกิดน้ำในช่องท้องเป็นผลจากความดันเลือดในตับเพิ่มสูงขึ้นมาก ร่วมกับระดับแอลบูมินในเลือดลดต่ำลง แอลบูมินเป็นโปรตีนในเลือดทำหน้าที่สำคัญในการดึงสารน้ำไว้ในกระแสเลือด เมื่อระดับลดต่ำลง ความดันที่แตกต่างกันระหว่างภายในกับภายนอกหลอดเลือดทำให้น้ำรั่วออกไปนอกหลอดเลือด โดยเข้าไปอยู่ในช่องท้องเกิดเป็นภาวะท้องมานขึ้น
    2.เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้เกิดการคั่งของสารน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
    3.โรคไต และภาวะขาดแอลบูมิน
    4.ภาวะช่องท้องอักเสบจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น การติดเชื้อ ภูมิแพ้
    5.มะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งที่กระจายมาที่ช่องท้อง เป็นต้น
    6.สาเหตุจากโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากพิษสุราเรื้อรัง
    7.บางรายอาจเกิดจากโรคตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน หรืออุบัติเหตุที่ตับอ่อน
    8.เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ของตับ ซึ่งพบได้น้อยมาก



    “เข้าใจตรงกันนะ นักเรียน”


    ความคิดเห็นที่ 16  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 04:55 น.

    Speculum ที่หมอในเรื่องจะใช้ถ่างปากมดลูกนางไอซ์ซึ่งไม่เคยผ่านการคลอดบุตรมาก่อน

    ขนาดของ Bivalved vaginal speculum สำหรับสตรีที่ยังไม่ผ่านการมีบุตร
    แพทย์ไม่ใช้อันใหญ่ขนาดนั้นนะ(โว้ย)
    HeฉีกHeระเบิดกันพอดี
    เยาวชนหญิงอายุ 15-16 ต้องใช้ขนาดเล็กสุดนะ
    ...จำไว้

    “เข้าใจตรงกันนะ นักเรียน”


    ความคิดเห็นที่ 15  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 04:44 น.

    ยาเหน็บ CYTOTEC (MISOPROSTOL 200 mcg) เพื่อเร่งการบีบตัวของมดลูกให้แท้ง ที่นางไอซ์ใช้

    ไม่ใช่ “สอดปุ๊บ มดลูกบีบปั๊บ ลูกไหลออกทันใจ” ทันทีทันใดเหมือนในหนังนะ(โว้ย)

    ยา cytotec ใช้ครั้งละ 3 เม็ด
    สอดช่องคลอดทุก 12 ชั่วโมง
    คนไข้แท้งได้ทั้งหมด ต้องใช้เวลาเฉลี่ย 24.1+-21.6 ชั่วโมง

    “เข้าใจตรงกันนะ นักเรียน”


    ความคิดเห็นที่ 14  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 04:23 น.

    ท้องมาน (ascites)

    ท้องมาน หมายถึง ภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้อง โดยปกติช่องท้องจะอยู่ใต้ช่องอก แยกจากกันด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม
    น้ำในช่องท้องที่มีปริมาณตั้งแต่ 1500 มิลลิลิตร จึงจะตรวจร่างกายพบ
    น้ำปริมาตรตั้งแต่ 500 มิลลิลิตร จึงตรวจด้วย ultrasound
    หากปริมาณน้อยกว่านี้จะตรวจไม่พบ
    น้ำในช่องท้อง มีแหล่งที่มาได้ต่างๆ กัน โดยเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็ง โรคหัวใจล้มเหลว และโรคไต

    ความรุนแรงของท้องมาน (Grading of ascites) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 grade โดย
    • Grade 1 พบว่ามี ascites เพียงเล็กน้อย ซึ่งสามารถตรวจพบได้โดยการตรวจ ultrasound
    • Grade 2 พบว่ามี ascites เพียงปานกลาง สามารถตรวจร่างกายพบได้
    • Grade 3 พบว่ามี ascites ปริมาณมาก ท้องของผู้ป่วยมักจะตึงแน่น

    การแบ่งชนิดของท้องมาน
    โดยทั่วไป แบ่ง ภาวะท้องมาน ออกเป็นสองชนิด เรียกว่า Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG)
    คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนชนิดแอลบูมินในสารน้ำช่องท้อง เทียบกับระดับของแอลบูมินในเลือด
    พบว่าน้ำในช่องท้อง ที่เกิดจากโรคตับแข็งหรือภาวะหัวใจวาย จะมีค่าอัตราส่วนที่มากกว่า 1.1
    ในขณะที่ ภาวะท้องมาน ที่เกิดจากมะเร็งหรือโรคตับอ่อนอักเสบ จะมีค่าอัตราส่วนน้อยกว่า 1.1
    และควรตรวจดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ถ้า ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง
    และหากสงสัยว่ามีมะเร็ง หรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

    คำนิยาม

    U***plicated ascites คือ ascites ที่ไม่มีการติดเชื้อในช่องท้อง หรือไม่ได้เกิดร่วมกับ hepatorenal syndrome

    Refractory ascites คือ ascites ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
    พบว่า 5-10% ของผู้ป่วย ascites ทั่วไปจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมีลักษณะที่เข้าได้กับ refractory ascites โดยมีเกณฑ์ในการวินิจฉัยดังนี้

    ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะอย่างเต็มขนาดของยา โดยใช้ spironolactone 400 mg/วัน และ furosemide 160 mg/วัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และร่วมกับทำการควบคุมปริมาณการรับประทานเกลือโซเดียม โดยให้น้อยกว่า 90 mmole หรือ 5.2 กรัมของเกลือต่อวันแล้ว ยังไม่สามารถควบคุมปริมาณ ascites ได้ โดยสามารถดูได้จากการที่
    1. ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดน้อยกว่า 0.8 ***กรัม 4 วัน และปริมาณเกลือโซเดียมที่ร่างกายขับออกทางปัสสาวะน้อยกว่าปริมาณเกลือโซเดียมที่ร่างกายได้รับ
    2. และพบว่ามี ascites เกิดขึ้นใหม่ขนาด grade 2 หรือ 3 ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์
    3. หรือเกิดภาวะข้างเคียงจากการเพิ่มยาขับปัสสาวะ เช่น
    • เกิด hepatic encephalopathy โดยไม่มีสาเหตุอื่น ๆ
    • มีการเสื่อมของไตโดยที่ค่า creatinine เพิ่มมากกว่า 100% หรือมากกว่า 2 mg/dl ในผู้ป่วย ascites ที่ตอบสนองต่อการรักษา
    • เกิดภาวะ diuretic-induced hyponatremia ค่าซีรั่มโซเดียมลดลงมากกว่า 10 mmol/l หรือระดับซีรั่มโซเดียมน้อยกว่า 125 mmol/l

    • เกิดภาวะ hypo หรือ hyperkalemia ค่าโปรแตสเซียมที่เปลี่ยนแปลงจนน้อยกว่า 3 หรือมากกว่า 6 mmol/l

    สาเหตุ
    1.โรคตับ โดยเฉพาะโรคตับแข็งจากสาเหตุใดก็ตาม พบได้ประมาณร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมานทั้งหมด การเกิดน้ำในช่องท้องเป็นผลจากความดันเลือดในตับเพิ่มสูงขึ้นมาก ร่วมกับระดับแอลบูมินในเลือดลดต่ำลง แอลบูมินเป็นโปรตีนในเลือด ทำหน้าที่สำคัญในการดึงสารน้ำไว้ในกระแสเลือด เมื่อระดับลดต่ำลง ความดันที่แตกต่างกันระหว่างภายในกับภายนอกหลอดเลือด ทำให้น้ำรั่วออกไปนอกหลอดเลือด โดยเข้าไปอยู่ในช่องท้องเกิดเป็นภาวะท้องมานขึ้น

    Cirrhosis:
    •ผู้ป่วยตับแข็งจะมาโรงพยาบาลด้วยเรื่องท้องมาน ซึ่งเป็นอาการบ่อยที่สุด และเมื่อเกิดท้องมานแล้วจะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่ม
    •ร้อยละ75ของผู้ป่วยท้องมานเป็นตับแข็ง ร้อยละ50ของผู้ป่วยตับแข็งจะมีท้องมานในระยะเวลา 10 ปี
    • “การท้องมาน” บวมที่เท้า หรือมีน้ำในช่องอกจะ“เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยโรคตับในระยะสุดท้าย”และ“มีอัตราการเสียชีวิตสูง”
    •ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งมานาน และต่อมาเกิดท้องมานให้ระวังโรคมะเร็งตับแทรก

    2.มะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งที่กระจายมาที่ช่องท้อง เป็นต้น
    โรคมะเร็งจะเป็นสาเหตุของท้องมานร้อยละ 15 มะเร็งที่ทำให้เกิดน้ำในช่องท้องได้แก่
    •มะเร็งของโรคทางเดินอาหารได้แก่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ
    •มะเร็งรังไข่
    •มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
    •มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากมะเร็งที่อื่น เช่นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม

    3.ภาวะหัวใจล้มเหลว
    4.โรคไต
    5.ภาวะขาดแอลบูมิน (โปรตีนไข่ขาว)ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหาร ท้องร่วงเรื้อรัง หรือโรคไตรั่ว
    6.ภาวะช่องท้องอักเสบจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น การติดเชื้อเช่นเชื้อวัณโรค ภูมิแพ้
    7.สาเหตุจากโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากพิษสุราเรื้อรัง บางรายอาจเกิดจากโรคตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน หรืออุบัติเหตุที่ตับอ่อน
    8.เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ของตับ ซึ่งพบได้น้อยมาก

    อาการ
    ผู้ป่วยที่มีอาการท้องมานจะมีอาการ
    •แน่นท้อง ท้องโตขึ้น ถ้าน้ำขังอยู่ในท้องมากๆ อาจจะทำให้หนังท้องปริแล้วมีน้ำซึมออกมาได้
    •บางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย “ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยหายใจติดขัด”
    “น้ำหนักเพิ่ม”เนื่องจากการคั่งของน้ำและเกลือ
    •คลื่นไส้และเบื่ออาหาร เนื่องจากน้ำในช่องท้องกดกระเพาะอาหาร
    •อาการของโรคที่เป็นสาเหตุ

    การตรวจร่างกาย
    •ตรวจท่านอนและยืน ท่านอนนำจะไหลออกด้านข้างทำให้บวมออกด้านข้าง ส่วนท่ายืนน้ำจะไหลลงมาท้องน้อยทำให้บวมบริเวณท้องน้อย
    •หากน้ำมีมากทำดันสะดือออกมาเกิด“ไส้เลื่อน”
    •อาการของตับ เช่น “ดีซ่าน” “นมโต” (หัวนมตุ่ย เต้านมโต) “ฝ่ามือแดง”

    Prognosis

    ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เกิด ascites “ถือว่ามีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี มีอัตราการเสียชีวิตถึง 40% ใน 2 ปี”
    โดยเฉพาะถ้าพบว่ามี ,ean arterial pressure ≤ 82 mmHg การขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ ≤ 1.5 mEq ต่อวัน, GFR ≤ 50 ml/นาที, norepinephrine ในพลาสมา ≥ 570 pg/ml, ภาวะทุกโภชนาการ, ตับโต, อุลบูมินในซีรั่ม ≤ 2.8 mg/dl

    “เข้าใจตรงกันนะ นักเรียน”


    ความคิดเห็นที่ 13  จากคุณ “สปอยล์ร้อยแรงม้า”     8 ส.ค. 2557 03:41 น.

    น้ำในช่องท้อง (Ascites)

    น้ำในช่องท้องมีสาเหตุต่างๆ มากมาย สาเหตุที่พบบ่อยคือ จากโรคตับ หัวใจ ไต วัณโรค มะเร็งในช่องท้องหรือมีการทะลุของกระเพาะ ลำไส้ ทำให้มีน้ำเข้าไปในช่องท้อง และตับอ่อนอักเสบอย่างรุนแรง ฯลฯ

    ถ้ามีน้ำในช่องท้องต้องพยายามแยกสาเหตุให้ได้ว่า มาจากโรคหัวใจ ตับ หรือไต ฯลฯ ซึ่งแพทย์สามารถแยกได้ไม่ยาก แต่ในที่นี้ขอพูดเกี่ยวกับน้ำในช่องท้องที่มาจากโรคตับเท่านั้น

    เมื่อมีการอักเสบของตับจะเป็นแบบเฉียบพลัน (acutehepatitis)หรือเป็นเรื้อรัง ถ้าเป็นไปเรื่อยๆ เกิน 6 เดือน เรียกว่า ตับอักเสบเรื้อรัง (chronic hepatitis) ถ้าสาเหตุของโรคยังอยู่ โรคจะค่อยๆ ดำเนินการต่อจนเป็นโรคตับแข็งที่เรียกว่า cirrhosis ตับแข็งเป็นจุดหมายปลายทางของโรคตับ เมื่อเป็นแล้วจะไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ แม้สาเหตุของโรคจะหมดไปแล้ว เช่น หยุดดื่มเหล้าหรือ***จนไม่อ้วนแล้ว (อ้วนมากๆ ก็ทำให้เป็นโรคตับแข็งได้) เมื่อเป็นโรคตับแข็ง ผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนของตับได้ 5 ประการ คือ
    1.เลือดออกจากหลอดเลือดที่โป่งพองที่หลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
    2.ตับวาย (จะมีน้ำในช่องท้อง สะลึมสะลือ ไม่ค่อยรู้ตัว ฯลฯ)
    3.ไตวาย
    4.มะเร็งของตับ และ
    5.มีการติดเชื้อ เพราะผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง จะมีภูมิคุ้มกันไม่ค่อยดี จึงติดเชื้อได้ง่าย

    ในโรคตับแข็งที่เป็นมากจนทำหน้าที่ไม่ได้ น้ำในช่องท้องจะเป็นสิ่งที่พบบ่อยที่สุด กล่าวคือ จะเกิดขึ้นประมาณ 7-10% ของผู้ป่วยโรคตับแข็งต่อปี ผู้ป่วยจะมีท้องโตขึ้น มีอาการบวมที่ขา และประมาณ 5% ของผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้อง จะมีน้ำในช่องปอดข้างขวาด้วย ถ้ามีน้ำในช่องท้องมาก อาจทำให้ไส้เลื่อนได้บริเวณสะดือและที่ขาหนีบ (groin) ภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายที่สุดของน้ำในช่องท้อง คือ การติดเชื้อของน้ำในช่องท้องที่เรียกกันว่า spontaneous bacterial peritonitis หรือ SBP

    การวินิจฉัยน้ำในช่องท้อง ถ้ามีน้ำมากพอสมควรสามารถทำได้จากการตรวจร่างกายด้วยการคลำ เคาะ เป็นหลักในท่านอนหงาย และท่าตะแคงซ้ายหรือขวา ในท่านอนหงาย การเคาะจะมีเสียงทึบที่ด้านข้างของท้องและเสียงโปร่งตรงกลางคือบริเวณสะดือ เพราะลมจะอยู่ตรงนี้ (ที่ที่สูง) ข้างๆ ที่เคาะทึบเพราะมีน้ำอยู่ เมื่อผู้ป่วยนอนตะแคง ความโปร่งจากการเคาะจะอยู่ข้างที่อยู่ข้างบน เช่น ถ้าตะแคงซ้าย ความโปร่งจะอยู่ที่ข้างขวา ที่ตอนนี้อยู่ข้างบน เพราะลมจะอยู่ในบริเวณที่สูงสุด ฯลฯ ฉะนั้นการตรวจน้ำในช่องท้องแพทย์จะอาศัยการตรวจหา “shifting dullness” หรือความทึบที่เคลื่อนไหวได้

    แต่ถ้าน้ำในช่องท้องมีน้อย การตรวจร่างกายอาจไม่สามารถตรวจพบได้ วิธีอื่นที่ง่าย ปลอดภัยและไม่แพงมากคือ การตรวจ ultrasound (คลื่นความถี่)ที่หน้าท้อง ผู้ที่มีน้ำในช่องท้องเป็นครั้งแรกทุกๆ คนควรได้รับการเจาะท้อง เอาน้ำไปตรวจว่ามีโรคอะไรแทรกหรือไม่ เช่น เป็น SBP วัณโรค หรือมะเร็ง ฯลฯ การตรวจน้ำในช่องท้องแพทย์จะตรวจหา albumin (โปรตีนชนิดหนึ่ง) เม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงเชื้อโรคและเชื้อมะเร็ง ฯลฯ

    การรักษาน้ำในช่องท้อง คือ ก่อนอื่นควรพิสูจน์ว่ามีน้ำในช่องท้องเฉยๆ โดยไม่มีการติดเชื้อใดๆ ทั้งสิ้น หรือเป็นมะเร็งในช่องท้อง ถ้าพิสูจน์แล้วว่า เป็นน้ำในช่องท้องเฉยๆ การรักษาคือ ไม่ทานอาหารที่เค็ม โดยพยายามทานเกลือวันละไม่เกิน 2 กรัม หรือ 88 meq พร้อมทั้งยาขับปัสสาวะ ปกติมักไม่จำเป็นต้องลดปริมาณน้ำที่ดื่ม ยกเว้นกรณีที่ตรวจเลือดแล้วพบว่ามีธาตุ sodium (Na) ต่ำกว่า 125 meq/ลิตร (ปกติควรอยู่ที่ประมาณ 140) การให้ผู้ป่วยลดอาหารเค็มเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก ควรแค่แนะนำไม่ให้ใส่เกลือระหว่างทำอาหาร และไม่ใช้น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือบนโต๊ะอาหาร ควรพยายามทำให้ได้มากที่สุด ถ้าทำไม่ได้จริงๆ ก็ต้องอาศัยยาขับปัสสาวะ โดยหลักการแล้วควร***ตัวเพียง 1 ***กรัมในสัปดาห์แรก และ 2 ***กรัมในสัปดาห์ต่อๆ ไป ต้องพยายามไม่***ถึงวันละ 1/2 ***กรัม ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้อง แต่ขาไม่บวม เพราะอาจทำให้ไตมีปัญหาได้

    ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของยาขับปัสสาวะ คือ มีปัญหาทางสมอง (encephalopathy) มีความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด และในผู้ชายอาจมี “นม” ที่โตขึ้นและเจ็บปวด

    นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

    “เข้าใจตรงกันนะ นักเรียน”


    << 1 2 3 4 5  6  7 8 9 >>